จำนวนผู้ชม

ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยบางใหญ่
89/141 ต.บางแม่นาง
อ.บางใหญ่ จ.นนทุบรี 11140
โทร.0819355698
E-Mail : nutthasasich@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พืชที่เป็นพิษ

วันนี้ เรา จะขอกล่าวถึง พืชที่มีพิษ และ เป็นอันตราย

1.  กลอย        หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้

2.  ดอกดึงหัวขวาน    หัวดองดึงจะคล้ายกลอย บางคนทานเพราะเข้าใจว่าเป็นกลอย แต่ ส่วนของเหง้าและเมล็ดจะมีสาร alkaloid ที่เรียกว่า colchicine สูง ซึ่ง colchicine ทำให้เกิดพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

3. เทียนหยด  พบสาร ไซยาไนด์ในใบ บางคนไม่ทราบ ไปเด็ดมากิน ทำให้ ถึงแก่ชีวิตได้

4. ปรง   ส่วนที่เป็นพิษของปรงได้แก่ ยอดและเมล็ด

5. ผกากรอง

6. พันซาด    ทุกส่วนของพิษชนิดนี้ได้แก่ ใบ เนื้อไม้ เปลือกไม้ ราก และเมล็ดมีพิษ เมื่อรับประทานเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และทำให้เสียชีวิตได้

7. โพศรี    อาการพิษจากการบริโภคหรือสัมผัสเมล็ดหรือยางจากส่วนต่างๆ ของต้นโพธิ์ศรี พบว่าส่วนใหญ่จะมีอาการแสบร้อนในลำคอ ปวดท้อง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (2-6, 8-9)
8.  มะกล่ำตาหนู  ตัวนี้ อันตรายมาก เพราะ ส่งผลต่อ ระบบเกือบจะทุกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

9. มันแกว       รับประทานเมล็ดมันแกวเข้าไป 200 กรัม เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า เป็นเมล็ดถั่วที่รับประทานได้ หลังรับรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (dizzy) อ่อนเพลีย และไม่สามารถก้าวเดินได้ จากนั้นไม่รู้สึกตัว หน้าซีด เริ่มมีอาการชัก กระตุกที่มือและเท้า ไม่สามารถควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะได้ ท้องเสีย และได้เสียชีวิตหลังจากที่รับประทานไปได้ 11 ชั่วโมง

10.ลำโพงขาว  
11.ลูกเนียง มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. ภายหลังรับประทาน เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ (anuria) ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบ colic ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง
ตัวอย่างที่ 1 ชายท่านหนึ่ง จม.ถามมาที่สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มีประวัติว่ารับประทานลูกเนียงเข้าไปประมาณ 10 ลูก มีอาการปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดท้องน้อยและหลัง แต่หลังจากนอนพัก 4-5 วัน อาการก็หายไป
12.ว่านนางกวัก  มีรายงานพบผู้ป่วยจากการรับประทานว่านนางกวักโดยเข้าใจผิดว่าเป็นต้นบอน
      มีอาการปวดแสบ ปวดร้อนที่คอ ลิ้น และบริเวณภายในกระพุ้งแก้ม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แพทย์ได้ทำการล้างท้อง งดน้ำและอาหาร ให้ยาเคลือบกระเพาะ และรักษาตามอาการจนกระทั่งผู้ป่วยอาการดีขึ้น

13. สบู่ขาว   หรือ สลอด

14.หงอนไก่  เมล็ด เป็นพิษ

15. เห็ดขี้ควาย      ภายใน 10-30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป จะมีอาการกระวนกระวาย เครียด มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และมักจะหาว กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หนาวๆ ร้อนๆ แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ริมฝีปากชา คลื่นไส้ โดยทั่วไปไม่อาเจียน ภายใน 30-60 นาที จะมีอาการผิดปกติของตา เช่น เห็นเป็นสีต่างๆ ขณะที่ปิดตา ระบบการรับรู้เรื่องเวลาผิดไป มีอาการเคลิ้มฝัน และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น รู้สึกเศร้า มีความรู้สึกเหมือนฝัน และเปลี่ยนบุคลิก ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง เหงื่อแตก หาว น้ำตาไหล หน้าแดง ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ใน 1-2 ชั่วโมง ความผิดปกติของตาจะเพิ่มมากขึ้น มีอาการฝันต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 2-4 ชั่วโมง แต่บางรายอาการอาจจะนานถึง 6-8 ชั่วโมง อาการจะหายไปเองโดยไม่มีอาการค้าง นอกจากอาจมีอาการปวดหัวหรืออ่อนเพลีย มีน้อยมากที่พบอาการซิโซฟรีเนีย ในเด็กอาการที่พบมีม่านตาขยาย ไข้สูง โคม่า และมีอาการชัก

16.สาวน้อยประแป้ง     แม้ว่าอาการพิษที่เกิดจากต้นสาวน้อยประแป้งจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ต้นสาวน้อยประแป้ง จัดเป็นพืชที่หาง่ายและขึ้นอยู่ทั่วไป โอกาสที่จะเกิดการสัมผัสยางหรือรับประทาน พืชต้นนี้เข้าไป โดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะระมัดระวัง


 พืชสมุนไพรทุกชนิดถ้ามีการใช้ที่ถูกต้องและใช้ในขนาดที่เหมาะสม ก็จะสามารถรักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย


ฉะนั้น เพื่อน นักเรียน หมอยา ทุกท่าน ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ ให้มากนะค่ะ

ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง
  • ใบเพสลาด หมายถึงใบไม้ที่จวนแก่
  • ทั้งห้า หมายถึงส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก
  • เหล้า หมายถึงเหล้าโรง (28 ดีกรี)
  • แอลกอฮอล์ หมายถึงแอลกอฮอล์ชนิดสีขาวสำหรับผสมยา ห้ามใช้แอกอฮอล์ชนิดจุกไฟ
  • น้ำปูนใส หมายถึงน้ำยาที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่รับประทานกับหมากมาละลายน้ำสะอาดตั้งทิ้งไว้ แล้วรินน้ำใสมาใช้
  • ต้มเอาน้ำดื่ม หมายถึงต้มสมุนไพรด้วยการใส่น้ำพอประมาณ หรือสามเท่าของปริมาณที่ต้องการใช้ ต้มพอเดือดอ่อนๆ ให้เหลือ 1 ส่วนจาก 3 ส่วนข้างต้น รินเอาน้ำดื่มตามขนาด
  • ชงเอาน้ำดื่ม หมายถึงใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัดลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม
  • 1 กำมือ มีปริมาณเท่ากับสี่หยิบมือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่งๆ
  • 1 กอบมือ มีปริมาณเท่าสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือทั้งสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนของปลายนิ้วแตะกัน
  • 1 ถ้วยแก้ว มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร
  • 1 ถ้วยชา มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนคาว มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร

อาการแพ้ยา สมุนไพร

อาการที่เกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้
  1. ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโต ๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด) หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง
  2. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้ามีอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค
  3. หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง
  4. ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่นเพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ ฯลฯ
  5. ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
  6. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองและเมื่อเขย่าจะเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรงต้องรีบไปหาแพทย์ อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรหรือซื้อยารับประทานด้วยตนเอง

ถ้าบุคคลใกล้ชิด ของท่าน มีอาการดังกล่าว ให้หยุดยา ทันที และ นำส่ง โรงพยาบาล

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
  2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
  3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
  4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
  5. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น

ฉะนั้น นักเรียนหมอยาทุกท่าน   ต้องรู้จริง รู้แจ้ง ท่านถึงจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ให้กับ คนไข้ได้

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบูชาปู่ชีวก

ถึง เพื่อนๆ แพทย์ แผนไทยทุกท่าน

วันพฤหัสที่ 9/8 /2555 นี้ ทางชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย จะมีพิธีไหว้ครู ประจำปี ขึ้น

งานเริ่ม เวลา 8.00 น. อยากให้ เพื่อนๆ มาร่วมงาน กันเยอะๆ ค่ะ


วันนี้ มีเพื่อน สมาชิกที่ไปอบรม วิชาชีพกับอาจารย์ โทรมาสอบถามว่า " เราไม่ได้ เรียน แพทย์แผนไทย" แค่ อบรมวิชาชีพ สามารถไปร่วมงานได้ ไหม

เราในฐานะ ผู้ประกอบอาชีพในด้านนี้ คนหนึ่ง " ตอบได้ทันทีเลยว่า " มาได้ค่ะ  

ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ ได้ มีศิษฐ์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ ปู่ชีวก และ อาจารย์ ไพบูลย์

แม้ว่า จะยังไม่เคยเรียน แต่  การประกอบอาชีพในด้านสมุนไพรนี้ อยากให้ เพื่อนๆ ระลึกอยู่เสมอว่า
จรรยาบรรณ เกี่ยวกับ ความสะอาด และ การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และ อื่นๆ ในอยู่ใน หัวข้อ จรรยาเภสัชนั้น  สำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำคัญยิ่งกว่า สิ่งอื่นใดทั้งหมด

เพื่อน ๆ ที่ เปิด อ่าน Block นี้ ถ้ามาร่วมงานทัน มา ทำบุญมหากุศล กันนะค่ะ เพื่อเป็นสิริมงคล ค่ะ


สถานที่ ประกอบพิธี ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย
    ซอยโรงเรียน เทพศิรินทร์ นนท์
    มาไม่ถูก สอบถามสถานที่ ได้ ที่เบอร์ 081-1987689 ค่า

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ย่านางแดง ล้างพิษ

ย่านางแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia, Craib tiliacora triandra Diels
ชื่อวงศ์ Craib Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinoideae)
ชื่อสามัญ เครือขยัน, ขยัน, สยาน, ขยาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข้ง ขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ ๔-๑๐ เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกับสำหรับเกาะยึด
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็ก ๆ ๑ คู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนากกว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๒ เซนติเมตร โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง
ดอก ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก ๒ ข้างของก้านช่อกลีบรองดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ ๕ แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี ๕ กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านดอกยาวประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร
ผล เป็นฝักแบน ๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน
สรรพคุณยาไทย
๑. ใช้เหง้าฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาสำแดง ถอนพิษ และแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
๒.เถาย่างนางแดง ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษทั้งปวง พิษเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เซื่องซึม ไข้สุกใส ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไข้กลับไข้ซ้ำ บำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม บำรุงธาตุ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
๓.ย่านางแดงชงเป็นชาล้างสารพิษได้ แก้สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง และเกิดอาการแพ้ต่างๆ โดยใช้ใบ หรือ ใช้เถาต้มดื่มเป็นประจำ จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ หรือกินแทนน้ำ หมายเหตุ ประเทศญี่ปุ่นกำลังศึกษาวิจัยในการแก้พิษต่างๆ ซึ่งผลคงออกมาไม่นานจากนี้

มะขามป้อม ล้างพิษ

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthusemblica Linn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ Emuc myrabolan, Malacca tree
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น เป็นไม้ต้นสูง ๑๐-๑๒ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาด กว้าง ๑-๕ มิลลิเมตร ยาว ๔-๑๕ มิลลิเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี ๕-๖ กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้น ๆ ๓-๕ อัน ก้านดอกสั้น
ผล เป็นรูปทรงกลม ขนาด ๑-๓.๒ เซนติเมตร เป็นพูตื่น ๆ ๖ พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สรรพคุณทางยา
ผลสด โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาดจะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
น้ำจากผล แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
การใช้ประโยชน์ทางยา
๑.รากแห้งของมะขามป้อม ต้มดื่ม แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิต
๒.รากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้
๓.เปลือกต้น ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่ม แก้โรคบิดและฟกช้ำ
๔.ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน ๑๐-๓๐ อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
๕.ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือดออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
หมายเหตุ ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด ๑๐-๓๐ ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
๖.ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่ม แก้ท้องเสีย โรคหนองใน บำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อยุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจาง ๗.เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นถ่าน ผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้ตุ่มคัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียน
สาระสำคัญที่พบ
ผลสด มีวิตามินซี ร้อยละ ๑-๑.๘ % นับว่ามีปริมาณมากและปริมาณค่อนข้างแน่นอน (วิตามินซีในน้ำคั้นจากผลมะขามป้อม มีมากประมาณ ๒๐ เท่าของน้ำส้มคั้น มะขามป้อม ๑ ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่าที่มีในผลส้ม ๑-๒ ผล) นอกจากนั้นยังมีสารเทนนิน (tannin) ๒๘ %
ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์๑.มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่าสารจากมะขามป้อมต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก แม้ว่ามะขามป้อมจะมีวิตามินซีสูงมาก แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมิได้เกิดจากวิตามินซีเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันพบว่าในมะขามป้อมมีสารพวกแทนนินซึ่งประกอบด้วย Emblicanin A ๓๗ % Emblicanin B ๓๓ % Punigluconin ๑๒ % และ Peduculagin ๑๔ %
๒.มีฤทธ์การต้านแบคทีเรีย โดยผลมะขามป้อม ทำให้เป็นกรดด้วยกรดเกลือ แล้วสกัดด้วยอีเทอร์และแอลกอฮอล์ สารสกัดทั้งสองนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย แต่ไม่มีผลต่อเชื้อรา สารสกัดด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แรงกว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Staphylococcus strain B, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli

รางจืด ล้างพิษ

รางจืด
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl.
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อทั่วไป กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย, รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ, ดุเหว่า, ซั้งกะ, ปั้งกะล่ะ, พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), น้ำนอง (สระบุรี), ย่ำแย้, แอตแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น
ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานหรือรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น ๓ เส้นออกจากโคนใบ
ดอก เป็นดอกมีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน
ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก
ส่วนที่ใช้ ใบ ราก และเถาสด
ข้อบ่งใช้ ลดไข้ (antipyretic) และถอนพิษ (detoxification)
สรรพคุณยาไทย
๑.รางจืดชนิดเถาดอกม่วง ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง
๒.แก้พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป หรือรากที่มีอายุเกิน ๑ ปีขึ้นไป หรือขนาดเท่านิ้วชี้ มาตำพอแหลกคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว เอาน้ำดื่ม ใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ ๔-๗ เท่า)
คำเตือน การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ต้องใช้ยาโดยทันที ถ้าพิษซึมเข้าสู่ร่างกายมาก ผลของยารางจืดก็จะได้ผลน้อยลง
๓.ใช้น้ำคั้นจากใบสด แก้ไข้ ถอนพิษของยาพิษ พืชพิษ เห็ดพิษ พิษจากสัตว์ต่างๆ ใช้แก้อักเสบ
๔.ใบรางและรากรางจืดใช้ตำพอกแก้ปวดลดบวม รักษาโรคข้ออักเสบ และปวดบวม
ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของรางจืด

๑.การศึกษาฤทธิ์ข้างเคียงของรางจืดขณะใช้ต้านพิษยาฆ่าแมลง พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดสามารถกดประสาทส่วนกลางทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ (ชัชวดี ทองทาบและคณะ จาก ม.เชียงใหม่)
๒.การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด พบว่าไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดด้วยน้ำร้อนลดอัตราการตายของหนูขาวได้ และพบว่าใบรางจืดแห้งใช้แก้พิษโพลิดอนได้เช่นเดียวกับใบรางจืดสด และแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภท Organophosphates ได้ดี (วีระวรรณ เรืองยุทธิการ์ ม.เชียงใหม่)
๓.การทดลองความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดไม่มีพบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทั่วไปของหนูขาวและไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อหนูเสียชีวิต (วีระวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ และคณะ ม.เชียงใหม่)
๔.การศึกษาฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต พบว่า หนูทีได้รับสารสกัดรางจืดรอดชีวิตร้อยละ ๓๐ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีตัวใดรอดชีวิต (สุชาสินี คงกระพันธ์และคณะ กระทรวงสาธารณสุข )
๕.รายงานผู้ป่วยพิษแมงดาทะเล ๔ ราย รักษาด้วยสมุนไพรรางจืด พบว่า สมุนไพรรางช่วยถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤตระดับ ๔ จำนวน ๒ รายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและรูม่านตาไม่ตอบสนองให้กลับฟื้นเป็นปกติได้หลังได้รับสารสกัดสมุนไพร เป็นเวลา ๔๐ นาที (สุพรรณี ประดิษฐ์สถาวงษ์ กระทรวงสาธารณสุข)

ย่านาง ล้างพิษ

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora ; Trian dra (Colebr.) Diels
ชื่อวงศ์ Menispermaceae
ชื่อสามัญ (ภาคกลาง) เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี (เชียงใหม่) จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง (ภาคใต้) ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ (สุราษฎร์ธานี) ยาดนาง, วันยอ (ภาคอีสาน) ย่านางอื่น ๆ เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น
เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป็นเถากลม ๆ ขนาดเล็ก เหนียว มีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเข้ม บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่ผิวค่อนข้างเรียบ
ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่
ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว ๕-๑๐ ซม.กว้าง ๒-๔ ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว ๑-๑.๕ ซม. ในภาคใต้ใบค่อนข้างเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน
ดอก ออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน จากข้อเถาแก่เป็นช่อยาว ๒-๕ ซม.ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง ๓-๕ ดอกออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณุสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้น ๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือน เมษายนผลรูปร่างกลมเล็ก ขนาดเท่าผลมะแว้ง สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดง หรือสีแดงสด และกลายเป็นสำดำในที่สุด
รสและสรรพคุณยาไทย ย่านางมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณในการดับพิษร้อน รากย่านางสามารถใช้แก้ไข้ได้ทุกชนิด สรรพคุณทางยา
ราก ใช้แก้ไข้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู
ใบ แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้พิษเมา แก้อาการผิดสำแดง แก้ไข้กลับ แก้เลือดตก แก้กำเดา แก้ลม ลดความร้อน
เถา แก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า ต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ต้าน
การใช้ประโยชน์ทางยา
๑.รากแห้งใช้แก้ไข้ โดยใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (หนัก ๑๕ กรัม) ต้มน้ำดื่ม ๓ ครั้งก่อนอาหาร
๒.สำหรับคนที่เป็นผดผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ หรือไข้ออกตุ่ม ก็ใช้น้ำคั้นใบย่านางชโลมตามผิวบริเวณที่เป็น หรือผสมกับดินสอพองใช้ทาทิ้งไว้
การทำเป็นอาหาร ชาวไทยภาคอีสานและภาคเหนือนำใบย่านางมาใช้ประกอบอาหาร โดยเอาน้ำคั้นจากใบทำน้ำแกง คือแกงหน่อไม้หรือต้มเปรอะ แกงขี้เหล็ก แกงหวาย ลาบหมาน้อย ลาบเทา ต้มหน่อไม้ การประกอบอาหารดังกล่าวนี้ใช้น้ำคั้นใบย่านางจะช่วยฆ่าพิษหรือดับพิษของอาหารที่ประกอบนั้น เช่น หน่อไม้ จัดเป็นอาหารแสลงที่ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเข่า ถ้าเป็นหญิงมักมีตกขาว หรือคันในช่องคลอดร่วมด้วย สำหรับคนรักสุขภาพ มีการแนะนำสูตรเครื่องดื่มพร้อมวิธีปรับปรุงสูตรเพื่อเพิ่มรสชาติ เช่น ใบย่างนาง เสลดพังพอน ตำลึง ผักบุ้ง อ่อมแซบ บัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบเตย ฝรั่ง เลือกใบย่านางเป็นหลัก ส่วนผสมอื่นๆ เลือกตามสะดวกและหาได้ จะตำคั้น หรือปั่น หรือใช้เครื่องแยกกาก ก็ตามสะดวก แล้วแต่งรสชาติด้วย น้ำมะพร้าว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง หรือไม่แต่งรสก็ได้ รับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ
สารสำคัญที่พบ จากการวิจัยพบว่า สารเคมีที่พบในรากย่านาง คือ Alkaloid ซึ่งมี Tiliacorine. Ttliacorinine. NortiliacorinineA Tiliacorinine-2-N-Oxide
การศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
๑.น้ำคั้นจากใบย่านางมีคลอโรฟิลล์ สามารถเพิ่มความสดชื่น ปรับสมดุลร้อนเย็นในร่างกาย ลดไข้ ปวดแขนขา แสบร้อนเบ้าตา เป็นผดผื่นคัน แพ้อากาศ สามารถล้างสารพิษที่สะสมในระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งมาจากอาหารและสิ่งแวดล้อม
๒.ข้อมูลทางโภชนาของย่านางระบุว่ามีเบต้าแคโรทีนสูง สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย อุดมด้วยเส้นในอาหาร แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส

ข่อยล้างพิษ

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร Streblus asper Lour.
ชื่อวงศ์ Moraceae
ชื่อสามัญ Siamese rough bush, Tooth brush tree
ชื่อสามัญ ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ส้มพอ (เลย)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ บางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอดเป็นรูปวงกลม กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๒-๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๔-๗ เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน
ดอก ออกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน
ผลสดกลม เมล็ดโตขนาดเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย ประโยชน์ทางยา
๑.ใช้กิ่งสด ขนาดยาว ๕-๖ นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน
๒.ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้
๓.ใช้เปลือกต้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
๔.ใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอบบ้วนปาก เป็นการฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และโรคทางเดินอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
๕.นำใบมาคั้นให้แห้ง ชงน้ำรับประทาน บรรเทาอาการปวดของมดลูกระหว่างมีประจำเดือน
สารเคมีที่พบ
ผล จะมีน้ำมันระเหย ๑-๑.๔ % ไขมัน ๒๖ % และ ในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำตาลกลูโคส
ทั้งต้น มีสาร ลินาโลออล (linalool) โนนานาล (nonana) ดีคาลนาล (decanal) วิตามินซี ๙๒-๙๘ มก.%
เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตเจน ๑๓-๑๕ เปอร์เซ็นต์ และสารอนินทรีย์ ๗ % มีน้ำมันระเหย ๑ % ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ ๗๐%
ใบ คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อยาเมาหรืออาหารแสลง

สมุนไพร ล้างพิษ

สมุนไพร ล้างพิษ มี

1. ข่อย

2. ย่านาง
3. รางจืด
4. มะขามป้อม
5. ย่านางแดง

เด่ว เราจะมาดู ในรายละเอียดแต่ละตัวกันนะค่ะ






วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

ริดสีดวงทวาร


  1. เพชรสังฆาตใช้เถา ขนาด 2-3 องคุลี สอดใส่ลงกล้วยสุก กิน 10-15 วัน
คำว่า องคุลี บางตำรา ก็บอกว่า นิ้ว ชี้ , บางตำรา ก็บอกว่า นิ้วกลาง แต่ ทั้งสองนิ้ว ก็เท่ากันค่ะ

วันนี้ มีเพื่อนสมาชิก โทรมาสอบถามเรื่อง อาการคัน เกิดจากอะไร  และ แก้อย่างไร

แก้ผื่นคัน


  1. ขมิ้นชันใช้เหง้ามาทำให้แห้ง บดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กจะนิยมใช้มาก
  2. ตำลึงใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำอีก จนกว่าจะหาย
  3. สำมะงาใช้กิ่ง 3-4 กำมือ สับเป็นท่อนๆ ต้มน้ำอาบ
  4. เสลดพังพอนใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ หรือตำผสมเหล้าเล็กน้อยก็ดี
  5. เหงือกปลาหมอเอาต้น รากสด หรือแห้ง สับเป็นท่อนเล็กๆ 1 ขีด ผสมกับน้ำ 3-4 ขัน ต้มให้เดือด 10 นาที ก่อนอาบยา ให้อาบน้ำฟอกสบู่เสียก่อน และอาบเมื่อยังอุ่นอยู่ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3-4 ขัน อาบแล้วไม่ต้องอาบน้ำธรรมดาซ้ำอีก
ความจริงมีหลายตัวมากๆ ค่ะ  แต่ เท่านี้ ก็สามารถทำให้เพื่อน ๆ หายคันแล้วค่ะ

ลองดูนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

หากใครต้องการ เปิดร้านขาย สมุนไพร  ก็มาดูกันค่ะ ว่า ต้องทำอย่างไร

สมุนไพร หมายถึง พืช หรือ ส่วนของพืชสมุนไพร อาจอู่ในสภาพสดหรือแห้งก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ สมุนไพรนั้นังมิได้ผ่านการแปรรูปใดๆ ส่วนการบดหาบโดที่เราังสามารถแยกแยะได้ ว่าเป็นพืชใด ได้มาจากส่วนใดของพืชนั้น ไม่ถือว่าเป็นการแปรรูป ประชาชนโดยทั่วไปสามารถผลิต และขายสมุนไพรได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ห้ามโฆษณาสรรพคุณทางยา

ส่วนคำว่า ยาจากสมุนไพร นั้นมี 2 ลักษณะ คือ ยาสมุนไพร และยาตำรับ หรือยาสำเร็จรูป

ยาสมุนไพรนั้น อาจเป็นสมุนไพรไม่แปรสภาพหรืออาจผ่านการบด หยาบบรรจุซองก็ได้ ผู้ผลิตยาสมุนไพรจะต้องขออนุญาตผลิต แต่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา และสามารถแสดงสรรพคุณยาบนฉลากได้ตามที่กำหนด โดยจะต้องได้รับอนุญาตให้แสดงสรรพคุณบนฉลาก และโฆษณาเสียก่อน ส่วนการขายยาสมุนไพรนั้นไม่ว่าใครจะขายก็ได้ไม ่ต้องขออนุญาต

ส่วนยาตำรับหรือยาสำเร็จรูปนั้น สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ลักษณะคือ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณและยาที่ไม่ใช่ยา สามัญประจำบ้านซึ่งในการผลิตยาตำรับนี้ ผู้ผลิตต้องขออนุญาตผลิต และขึ้นทะเบียนตำรับยาเสียก่อน และการแสดงฉลากนั้นต้องมีข้อความตามที่กฎห มายกำหนด และตรงกับที่ขึ้นทะเบียนไว้ ส่วนการโฆษณาผ่านสื่อนั้นต้องขออนุญาตก่อน ประชาชนทั่วไปสามารถขายยาตำรับนี้ได้เลยหากเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่หากไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านจะต้องได้รับ อนุญาตก่อนจึงจะขายได้

นอกจากใช้เป็นยาแล้ว สมุนไพรยังถูกแปรรูปไปเป็นอาหาร ซึ่งเราเรียกว่า อาหารสมุนไพรตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ เครื่องดื่มสมุนไพรบรรจุขวด เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป แยม อาหารสมุนไพรเหล่านี้ไม่สามารถระบุสรรพคุณ ทางยาบนฉลากได้

นอกจากนี้ อาหารเสริมสุขภาพก็เป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอีกจำพวกหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมสูง เช่น กระเทียมแคปซูล ส้มแขกแคปซูล เป็นต้น อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จะต้องขออนุญาตและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อนจึงจะผลิตได้

นอกจากนี้แล้วสมุนไพรยังสามารถนำมาผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพอื่นๆได้ เช่น ยาสระผมสมุนไพร และอื่นๆอีกมากมาย

ทำทุกอย่างกันให้ทุกต้องนะค่ะ
ใครอยากเปิดร้านขายยา สมุนไพร มาอ่านกันหน่อยจ้า  ย้ำ ร้านขายยา

าแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งหมาสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลป ะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอู่ในตำราาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาหรือาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นาแผนโบราณ หรือาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบีนตำรับาเป็นาแผนโบราณ

การควบคุมาแผนโบราณ
การผลิต ขาหรือนำเข้าฯาแผนโบราณจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหม าย ดังนี้

1. ผู้ที่ต้องการผลิต ขาหรือ นำเข้าฯาแผนโบราณ จะต้องได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และต้องจัดให้ผู้ประกอบการโรคศิลปะแผนโบราเป็นผู้มีหน้าที่ ปฏิบัติการประจำ อยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ

2. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา ขาหรือ นำเข้าฯ ยาแผนโบราณนอกสถานที่ ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่ง

3. ตำรับยาแผนโบราณที่ผลิต หรือนำเข้าฯ ได้อย่างถูกกฎหมาย จะต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา และได้รับเลขทะเบียนก่อนจึงจะผลิต หรือนำเข้าฯได้

4. ผู้ผลิต ขาหรือ นำเข้าฯ ยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท

5. ผู้ผลิต ขาหรือ นำเข้าฯ ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2590-7200 งานใบอนุญาต
http://www.facebook.com/#!/groups/310006565721827/
เพื่อนๆ มา ดูเรื่อง รสยา ของสมุนไพรไทย กันค่ะ

รสยา ทั้งหมด มี 9 รส และมี สรรพคุณ แก้โรคดังนี้


๑. รสฝาด สำหรับสมานแผล แก้บิด ปิดธาตุ คุมธาตุ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย

๒. รสหวาน สำหรับซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้เนื้อชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย

๓. รสเมาเบื่อ สำหรับแก้พิษ พิษดี พิษโลหิต พิษไข้ พิษเสมหะ พิษสัตว์กัดต่อย ถ่ายพยาธิ

๔. รสขม แก้ทางโลหิตและดี แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร แก้ไข้

๕. รสเผ็ดร้อน แก้ลม แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับผายลม บำรุงธาตุ กระจายลม

๖. รสมัน ชอบแก้เส้นเอ็น แก้เส้นพิการ บำรุงเส้นเอ็น เพิ่มไขมัน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

๗. รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา

๘. รสเค็ม ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนังบางชนิด เนื้อหนังไม่ให้เน่า

๙. รสเปรี้ยว กัดเสมหะ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต ระบายอุจจาระธาตุ

รสจืด แก้เสมหะและปัสสาวะ สำหรับแก้ในทางเตโชธาตุ เสมหะและปัสสาวะ



ถ้าเพื่อนๆๆ ชิมแล้ว สมุนไพรตัวนั้น มีรสอย่างไร ก็ให้สันนิษฐานได้เลยค่ะ ว่า แก้โรคอะไร ได้

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

สัณฑฆาต ๔ เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิต ๔ จำพวก

สัณฑฆาตเพื่อโลหิตแห้ง(เอกสัณฑฆาต) เกิดได้กับบุรุษและสตรี เพราะโลหิตจับเป็นก้อนภายใน เมื่อกินยาร้อนเข้าโลหิตจึงละลายออกเป็นลิ่ม ออกมาตามช่องทวารหนัก เรียกว่าอัสนโลหิต,สันนิจโลหิต รักษายากนัก คือเป็นอสาทิยโรค
กับสตรีเป็นเรื่องโลหิตและระดูแห้งเดินไม่สะดวก คุมกันเป็นก้อนเท่าฟองไข่ติดกระดูกสันหลังข้างใน มักจะเจ็บหลัง บิดตัวจะจุกแน่นหน้าอกมาก เมื่อแก่เข้ามักเป็นลมจุกแน่นอก
ถ้าบุรุษมักเกิดด้วยไข้ถึงพิฆาต คือกระทบกระแทก ตกต้นไม้ ถูกทุบถองโบยตีสาหัส พิการช้ำในอก โลหิตคุมกันเป็นก้อนเป็นดาน ทำให้ร้อน เสียดแน่นยอกสันหลัง


สัณฑฆาตเกิดเพื่อปัตตะฆาต(โทสัณฑฆาต) เป็นได้ทั้งบุรุษ-สตรี
เพราะเกิดท้องผูกเป็นพรรดึกและโลหิตแห้ง แล้ววาโยกล้าพัดโลหิตให้เป็นก้อนเข้าในอุทร จึงเจ็บทั่วสรรพางค์กาย เมื่อยบั้นเอว มือเท้าตาย ให้ขบขัดเข่าและตะโพกท้องขึ้นและตึงที่ทวารเบา กินอาหารไม่มีรส ปากเปื่อยเสียงแห้ง เวียนศีรษะ ตามืดน้ำตาไหลหูตึง ร้อนบ้างหนาวบ้าง อยากเปรี้ยวอยากหวาน เป็นคราว


สัณฑฆาตเกิดเพื่อกาฬ เกิดภายในตับ ปอด หัวใจและดี ไส้อ่อน,ไส้แก่ (ตรีสัณฑฆาต)
เป็นเม็ดขนาดเม็ดข้าวสารหัก ขึ้นที่ดีให้คลั่งเพ้อ ขึ้นตับให้ตับหย่อน ตกโลหิตมีอาการดุจปีศาจเข้าสิง ถ้าขึ้นปอดให้กระหายน้ำ ขึ้นหัวใจให้แน่นิ่งเจรจาไม่ได้ ขึ้นในไส้อ่อนไส้แกให้จุกเสียด จุกโลหิตท้องขึ้นท้องพองดังมานกระษัย เมื่อเป็นได้ ๗-๘-๙ วันโลหิตจะแตกออกในทวารทั้ง ๙ เรียก”รัตตะปิตตะโรค”รักษาไม่ได้ คือเป็นอติสัยโรค


สัณฑฆาตเกิดเพื่อกล่อนแห้ง (อาสัณฑฆาต)
เกิดเพื่อสมุฎฐานธาตุและอชิณโรค คือกินของแสลงโรคแสลงธาตุเช่นของอันมีรสคาวเป็นต้น ทำให้อาเจียนเป็นน้ำลาย น้ำลายฝาด มีอาการเจ็บกระบอกตา เมื่อยไปทั้งตัว เจ็บที่ขั้วสะดือ ลงไปถึงอัณฑะ คันองคชาติ องคชาติบวมเจ็บแสบร้อน แตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลซึม เกิดเป็นเม็ดงอกขึ้นในรูองคชาติขนาดเท่าผลพริกเทศ แก่เข้าดังยอดหูด ให้ปัสสาวะเป็นสีต่างๆดังทุราวสา ๔ จำพวก

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

จรรยาเภสัช

จรรยาเภสัช

จรรยาเภสัช เป็นหลักคุณธรรมประจำใจที่เภสัชกรทุกคนควรถือปฏิบัติ เพราะว่าเภสัชกรนั้นนอกจากจะต้อง ศึกษาในหลัก เภสัช ๔ แล้ว ยังจะต้องมีจรรยาอันดีงาม เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ประพฤติในสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควร เพื่อนำความเจริญมาสู่ตนเองและ วิชาชีพ ตลอดจนสังคมโดยส่วนรวมด้วย มีดังนี้
๑. ต้องหมั่นเอาใจใส่ศึกษาวิชาแพทย์เพิ่มเติม ให้เหมาะสมแก่กาลสมัยอยู่เสมอไม่เกียจคร้าน
๒. ต้องพิจารณาหาเหตุผลในการปฏิบัติงาน ด้วยความสะอาดปราณี ไม่ประมาทมักง่าย
๓. มีความซี่อสัตย์ มีเมตตาจิตแก่ชีวิตผู้ใช้ยา ไม่โลภเห็นแก่ลาภ โดยหวังกำไรให้มากเกินควร
๔. ต้องละอายต่อบาป ไม่กล่าวเท็จโอ้อวดให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ในความรู้ความสามารถอันเหลวไหลของตน
๕. ต้องปรึกษาผู้ชำนาญหรือผู้รู้ เมื่อเกิดความสงสัยในตัวยาชนิดใด หรือการปรุงยา โดยไม่ปิดบังความเขลาของตน


ความสำคัญของจรรยาเภสัชนี้ เพื่อให้เภสัชกรระลึกอยู่เสมอว่าการปรุงยา หรือผสมยา หรือการประดิษฐ์วัตถุใดใดขึ้นเป็นยาสำหรับมนุษย์ ต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตมนุษย์ จะต้องมีความสะอาด ประณีต รอบคอบ ควรนึกถึงอยู่เสมอว่า เป็นสิ่งที่บำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่อชีวิตมนุษย์ มิใช่เป็นยาทำลายชีวิตมนุษย์ ฉะนั้นเภสัชกรจึงต้องมีจิตใจบริสุทธิ์ ยึดหลักจรรยาเภสัชเปรียบเหมือนศีล 5 เป็นข้อยึดเหนี่ยวหรือเป็นกฎข้อบังคับเตือนใจ เตือนสติ ให้ผู้เป็นเภสัชกร ประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นทางนำไปสู่คุณงามความดี และนำความเจริญก้าวหน้าแห่งวิชาชีพสืบต่อไปชั่วกาลนาน

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธาตุไฟ ( เตโชธาตุ) - ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย บางใหญ่

ธาตุไฟ(เตโชธาตุ) มี 4 ประการ ได้แก่
1.สันตัปปัคคี-ไฟสำหรับอุ่นกาย
2.ปริทัยหัคคี-ไฟสำหรับทำให้ร้อนระส่ำระสาย
3.ชิรนัคคี-ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า
4. ปริณามัคคี-ไฟสำหรับย่อยอาหาร

เนื่องจากธาตุลม 6 และธาตุไฟ 4 เป็นธาตุที่จับต้องไม่ได้
จึงเหลือธาตุที่จับต้องได้ คือ ธาตุดิน 20 และธาตุน้ำ 12
เมื่อเกิดมาร่างกายครบถ้วนดี จึงเรียกว่าครบ32 เป็นการรวมกันของธาตุดินและธาตุน้ำ

ธาตุลม ( วาโย) - ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย บางใหญ่

ธาตุลม ( วาโยธาตุ) มี 6 ประการ ดังนี้

1. อุทธังคมาวาตา-ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน
2. อโธคมาวาตา-ลมที่พัดลงเบื้องล่าง
3. กุจฉิสยาวาตา-ลมพัดในท้องนอกลำไส้
4. โกฏฐาสยาวาตา-ลมพัดในลำไส้ในกระเพาะ
5.อังคมังคานุสารีวาตา-ลมที่พัดทั่วร่างกาย
6.อัสสาสะ ปัสสาสะวาตา-ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

ธาตุน้ำ ( อาโป) มีอะไร บ้าง - ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย บางใหญ่

ธาตุน้ำ ( อาโปธาตุ) มี 12 ประการ มีดังนี้

1. ปิตตัง-น้ำดี
2. เสมหัง-เสลด
3. บุพโพ-น้ำหนอง
4. โลหิตัง-เลือด
5. เสโท-เหงื่อ
6. เมโท-มันข้น
7. วสา-มันเหลว
8. อัสสุ-น้ำตา
9. เขโฬ-น้ำลาย
10 สิงคาณิกา-น้ำมูก
11.ลสิกา-น้ำไขข้อ
12.มุตตัง-น้ำปัสสาวะ

ธาตุดิน 20 ประการ มีอะไรบ้าง - ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย บางใหญ่

ตามตำราการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า มนุษย์เราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 คือ
ธาตุดิน(ปถวีธาตุ) มี 20 ประการ ได้แก่
1. เกศา - ผม
2. โลมา - ขน
3. นขา -เล็บ
4. ทันตา - ฟัน
5. ตโจ - หนัง
6. มังสะ- เนื้อ
7. นหารู - เอ็น
8. อัฏฐิ - กระดูก
9. อัฏฐิมิญชัง - เยื่อในกระดูก
10. วักกัง - ม้าม
11. หทยัง - หัวใจ
12. ยกนัง - ตับ
13. กิโลมกัง - ผังผืด
14. ปิหกัง - ไต
15. ปัปผาสัง - ปอด
16. อันตัง - ลำไส้เล็ก
17. อันตคุณนัง - ลำไส้ใหญ่
18. อุทริยัง - อาหารใหม่
19. กรีสัง - อาหารเก่า
20. มัตถเกมัตถลุงคัง-สมอง

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

ไปเที่ยวสวนสมุนไพรกันค่ะ

ขณะนี้ ทาง ชมรม อนุรักษ์สมุนไพรไทย จะจัดกิจกรรมไปเที่ยวชมสวนสมุนไพร จันทบุรี -ระยองกัน
ออกเดินทาง เสาร์ที่ 28 เมษายน กลับ 29 เมษายน 2555

ค่าใช้จ่าย 1500 บาท รวม ค่าที่พัก อาหาร 4 มื้อ

สนใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0819355698 ค่ะ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หญ้าหมอน้อย

ชื่อ สมุนไพร หญ้าหมอน้อย หรือ หญ้าดอกขาว
สรรพคุณ   เป็นพืชล้มลุก  ขนาดเล็ก สูง 1 - 5 ฟุต ขึ้นง่าย หาง่าย ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนนุ่ม ใบมีหลายรูป รูปไข่รี ปลายและโคนแหลม ผิวค่อนข้างเรียบ ดอกเล็กกลมเป็นพู่ มีสรรพคุณตามตำราโบราณระบุไว้ว่า ทั้งต้นมีรสเย็นขื่น ต้มดื่มลดไข้ แก้ไอ แก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน แก้ริดสีดวงทวาร บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง คั้นเอาน้ำดื่มกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดู แก้ปวดท้อง ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ตำพอกแก้บวม ดูดฝีหนอง

ปัจจุบัน มี หลาย รพ นำ หญ้าหมอน้อย มาปรุงเป็นยา อดบุหรี่  ได้ผลดีเกินคาด
เนื่องจากสมุนไพรหญ้าดอกขาวมีสารไนเตรต ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นรู้สึกชา ทำให้ผู้ที่บริโภคเข้าไปไม่รับรู้รสชาติใดๆ จึงไม่รู้สึกอยากบุหรี่ เนื่องจากหญ้าดอกขาวเป็นกลุ่มที่มีโปแตสเซียมสูง  การใช้ควรระวังในรายที่มีประวัติโรคหัวใจ สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาจมีอาการคอแห้ง ปากแห้ง

สมุนไพรไทยมีดี กว่าที่เราคิดเยอะ ค่ะ เพื่อน ๆๆ
รับแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ ที่

FB: nutthasasich
twitter :  urasa_c

ชมรมสมุนไพรไทย สาขาบางใหญ่

รากปลาไหลเผือก

รากปลาไหลเผือก สมุนไพรหายาก ( Eurocoma longifolia jack)
ต้นปลาไหลเผือกเป็นยาไม้รากเดียว ต้นปลาไหลเผือนกหรือโสมเทวดา หรือพญานาคราช มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่หายาก และ เป็นสมุนไพรที่หมอสมุนไพรสมัยโบราณปิดเป็นความลับมาตลอด ผู้ที่รู้ก็เฉพาะหมอสมุนไพรไม่กี่คนที่ศึกษามาอยู่ในอาศรมฤาษีเท่านั้น เพราะต้นปลาไหลเผือกมีความเร้นลับมาก สมุนไพรทั้ง 4 ชื่อนี้ล้วนแต่มีฤทธิ์ทั้งนั้นซึ่งมีประวัติความเป็นมาในโบราณคดีของสมุนไพรหรือปลาไหลเผือก ในยุคต้นไม้เจริญ ต้นไม้ก็รับใช้ถือว่าเป็นยาสำหรับมนุษย์ให้หายจากโรคภัยได้อย่างไม่ต้องสงสัยพอยุคมนุษย์เจริญ ต้นไม้ก็ยังรับใช้มนุษย์เหมือนเดิม ต้นปลาไหลเผือกที่ว่านี้หมอสมุนไพรโบราณเคยเล่าว่า สามารถรักษาโรคได้ 108 โรค

สรรพคุณในทางรักษา-วิธี  โรคตับ, โรคปอด, โรคเลือด, น้ำเหลืองไม่ดี, ตกขาว, ประจำเดือนดำ, เหนื่อย, เวียนหัว, โรคเบาหวาน, ประดงต่างๆ, ริดสีดวง, เส้นเอ็นอักเสบ, ปวดหลัง, ปวดเอว, หัวเข่า, ข้อ, ภูมิแพ้, หอบหืด, เท้าชา, มือชา, เกร็ดเงิน, ขับสารพิษ, ความดันโลหิตสูง, ไมเกรน, ประจำเดือน, อัมพฤกเริ่มแรก, มะเร็งเริ่มแรก, ฝีภายใน, TB ชนิดบวม, ประดงต่างๆ

เรามี รากปลาไหลเผือก แคปซุล จำหน่าย ในราคา ชมรมฯ ด้วยค่ะ ติดต่อ 0819355698

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

แก้กลากเกลื้อน พื้นบ้าน

ยาแก้กลากเกลื้อน

1. ใช้ใบทองพันชั่งและรากตำทาที่แผล
2. ใช้หัวกระเทียมสดบีบเอาน้ำทาที่แผล
3. ใช้ใบน้อยหน่าตำทาที่แผล
4. ใช้ใบแมงลักตำคั่นเอาน้ำทาที่แผล
5. ใช้ต้นน้ำนมราชสีห์เล็กตำพอกที่แผล
6. ใช้ยางมะละกอทาที่แผล
7. ใช้ใบชุมเห็ดเทศตำคั่นเอาน้ำผสมน้ำมะนาวทาที่แผล

ยาแก้ปวดฟันไทยๆๆๆ

ยาแก้ปวดฟัน

1. ใช้ใบอุโลกเครือ คนจีนเรียกโพวตี่กิ๊ม ใช้ใบสดขยี้กับเกลือแล้วยัดไว้ที่ฟันปวด
2. ใช้เปลือกแตงโมตากแห้งเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงแล้วอุดที่ฟันปวด
3. ใช้ใบผักกระเฉดน้ำตำผสมกับสุรา ใช้หยอดฟันที่ปวด หรือใช้สำลีชุบยาแล้วอุดที่ฟันปวด
4. ใช้รากผักบุ้งตำ คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำส้มสายชูอมบ้วนปาก
5. ใช้ดอกตุ้มของต้นผักคราด (ภาคเหนือเรียกผักเผ็ดคนจีนเรียกอื่งฮวยเกี้ย) ใช้ดอกตุ้มอุดที่ฟันปวด หรือใช้ใบสดตำกับเกลืออุดที่ฟัน
6. ใช้สานส้มต้มกับเกลือ เอาน้ำมาอมแล้วบ้วนปาก
7. ใช้ดอกกานพลูแช่เหล้าหยอดฟันที่ปวด
8. ใช้การบูรยัดในโพรงฟันที่ปวด
9. ใช้ยางต้นข่อยผสมเกลือใส่ฟันหรือถูกฟันที่ปวด
10. ใช้ใบและรากชะพลูตำผสมเกลืออม
11. ใช้ใบชุมเห็ดใหญ่ตำกับเกลืออุดฟันที่ปวด

ลองทำดุนะค่ะ  ลองกับเด็กๆที่บ้านที่ชอบปวดฟันค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย บางใหญ่เรื่องวิธีป้องกันอาการท้องอืด

วิธีป้องกันอาการท้องอืดหลังเวลาเย็น


1. งดน้ำเย็น น้ำอัดลม นม ครีม กะทิ ไอศครีม อาหารทอด มัน อาหารหวาน รวมถึงผลไม้หวานจัดด้วย ไม่ควรทานกล้วยทุกชนิดก่อนนอน ถ้าจะทานต้องทำให้สุกด้วยการปิ้ง ย่าง ต้ม

2. ดื่มน้ำมะขามเปียกไม่ใส่น้ำตาลเวลาเช้าก่อนอาหารเพื่อทำการล้างลำไส้

3. ทานอาหารสขมให้มากขึ้นเพื่อบำรุงน้ำดี เช่น มะระขี้นก ลิ้นฟ้า ยอดมะระ มะระต้ม มะแว้ง มะเขือพวง

4. อย่ารับประทานอาหารหลังสองทุ่ม ควรสังเกตุตนเองว่าทานอะไรแล้วทำให้เกิดลมมาก ก็หยุดไปก่อน

5. รับประทานช้าๆ อย่าใจร้อน คิดมาก ขี้หงุดหงิด ขณะรับประทานก็ตั้งใจรับประทาน มิใช่กินไป พูดไป ดูไป

ลองใช้วิธีการข้างต้น ถ้ายังไม่ดีขึ้น ก็ควรพบแพทย์ค่ะ

ชมรมสมุนไพรไทยสาขา บางใหญ่ เรื่อประโยชน์ของเห็ด

กินเห็ดดีมีประโยชน์

หากพูดถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้วละก็ หนึ่งในนั้นคงต้องมี "เห็ด" เป็นส่วนประกอบสำคัญรวมอยู่ด้วย

เนื่องจากเห็ดมีโปรตีนสูง ทดแทนโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ และเห็ดบางชนิดยังนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้อีกด้วย โดยเห็ดที่นิยมนำมารับประทาน ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดแชมปิญอง เห็ดสกุลนางรม เห็ดโคน และเห็ดหูหนู เป็นต้น

คุณๆ ที่ทานอาหารจานเห็ดเป็นประจำนั้น ทราบหรือไม่ว่าเห็ดมีประโยชน์อะไรบ้าง แต่ถ้ายัง วันนี้เรานำคุณค่าในเห็ดชนิดต่างๆ มาฝากกัน เริ่มจาก

เห็ดหอม ซึ่งถือได้ว่าเป็นเห็ดอายุวัฒนะเลยทีเดียว เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด และเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็ง ในเห็ดหอมยังมีกรดอะมิโนอยู่ถึง 21 ชนิด มีวิตามินบี 1 บี 2 สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูก และมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับไต นอกจากนี้ยังมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง

เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต

เห็ดฟาง ช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล

เห็ดเข็มทอง ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรัง

เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญเบต้า-กลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่นโรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

นอกจากนั้นยังถือว่าเห็ดเป็นอาหารพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่มีรสหวา น ซึ่งจะช่วยทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลียได้อีกด้วย

อย่าลืมนำเห็ดมาช่วยเพิ่มคุณค่าให้มื้ออาหารมื้อต่อไปของคุณด้วยนะคะ