จำนวนผู้ชม

ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยบางใหญ่
89/141 ต.บางแม่นาง
อ.บางใหญ่ จ.นนทุบรี 11140
โทร.0819355698
E-Mail : nutthasasich@gmail.com

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ย่านางแดง ล้างพิษ

ย่านางแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia, Craib tiliacora triandra Diels
ชื่อวงศ์ Craib Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinoideae)
ชื่อสามัญ เครือขยัน, ขยัน, สยาน, ขยาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข้ง ขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ ๔-๑๐ เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกับสำหรับเกาะยึด
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็ก ๆ ๑ คู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนากกว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๒ เซนติเมตร โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง
ดอก ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก ๒ ข้างของก้านช่อกลีบรองดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ ๕ แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี ๕ กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านดอกยาวประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร
ผล เป็นฝักแบน ๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน
สรรพคุณยาไทย
๑. ใช้เหง้าฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาสำแดง ถอนพิษ และแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
๒.เถาย่างนางแดง ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษทั้งปวง พิษเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เซื่องซึม ไข้สุกใส ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไข้กลับไข้ซ้ำ บำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม บำรุงธาตุ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
๓.ย่านางแดงชงเป็นชาล้างสารพิษได้ แก้สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง และเกิดอาการแพ้ต่างๆ โดยใช้ใบ หรือ ใช้เถาต้มดื่มเป็นประจำ จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ หรือกินแทนน้ำ หมายเหตุ ประเทศญี่ปุ่นกำลังศึกษาวิจัยในการแก้พิษต่างๆ ซึ่งผลคงออกมาไม่นานจากนี้

มะขามป้อม ล้างพิษ

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthusemblica Linn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ Emuc myrabolan, Malacca tree
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น เป็นไม้ต้นสูง ๑๐-๑๒ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาด กว้าง ๑-๕ มิลลิเมตร ยาว ๔-๑๕ มิลลิเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี ๕-๖ กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้น ๆ ๓-๕ อัน ก้านดอกสั้น
ผล เป็นรูปทรงกลม ขนาด ๑-๓.๒ เซนติเมตร เป็นพูตื่น ๆ ๖ พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สรรพคุณทางยา
ผลสด โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาดจะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
น้ำจากผล แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
การใช้ประโยชน์ทางยา
๑.รากแห้งของมะขามป้อม ต้มดื่ม แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิต
๒.รากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้
๓.เปลือกต้น ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่ม แก้โรคบิดและฟกช้ำ
๔.ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน ๑๐-๓๐ อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
๕.ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือดออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
หมายเหตุ ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด ๑๐-๓๐ ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
๖.ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่ม แก้ท้องเสีย โรคหนองใน บำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อยุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจาง ๗.เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นถ่าน ผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้ตุ่มคัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียน
สาระสำคัญที่พบ
ผลสด มีวิตามินซี ร้อยละ ๑-๑.๘ % นับว่ามีปริมาณมากและปริมาณค่อนข้างแน่นอน (วิตามินซีในน้ำคั้นจากผลมะขามป้อม มีมากประมาณ ๒๐ เท่าของน้ำส้มคั้น มะขามป้อม ๑ ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่าที่มีในผลส้ม ๑-๒ ผล) นอกจากนั้นยังมีสารเทนนิน (tannin) ๒๘ %
ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์๑.มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่าสารจากมะขามป้อมต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก แม้ว่ามะขามป้อมจะมีวิตามินซีสูงมาก แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมิได้เกิดจากวิตามินซีเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันพบว่าในมะขามป้อมมีสารพวกแทนนินซึ่งประกอบด้วย Emblicanin A ๓๗ % Emblicanin B ๓๓ % Punigluconin ๑๒ % และ Peduculagin ๑๔ %
๒.มีฤทธ์การต้านแบคทีเรีย โดยผลมะขามป้อม ทำให้เป็นกรดด้วยกรดเกลือ แล้วสกัดด้วยอีเทอร์และแอลกอฮอล์ สารสกัดทั้งสองนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย แต่ไม่มีผลต่อเชื้อรา สารสกัดด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แรงกว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Staphylococcus strain B, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli

รางจืด ล้างพิษ

รางจืด
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl.
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อทั่วไป กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย, รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ, ดุเหว่า, ซั้งกะ, ปั้งกะล่ะ, พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), น้ำนอง (สระบุรี), ย่ำแย้, แอตแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น
ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานหรือรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น ๓ เส้นออกจากโคนใบ
ดอก เป็นดอกมีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน
ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก
ส่วนที่ใช้ ใบ ราก และเถาสด
ข้อบ่งใช้ ลดไข้ (antipyretic) และถอนพิษ (detoxification)
สรรพคุณยาไทย
๑.รางจืดชนิดเถาดอกม่วง ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง
๒.แก้พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป หรือรากที่มีอายุเกิน ๑ ปีขึ้นไป หรือขนาดเท่านิ้วชี้ มาตำพอแหลกคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว เอาน้ำดื่ม ใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ ๔-๗ เท่า)
คำเตือน การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ต้องใช้ยาโดยทันที ถ้าพิษซึมเข้าสู่ร่างกายมาก ผลของยารางจืดก็จะได้ผลน้อยลง
๓.ใช้น้ำคั้นจากใบสด แก้ไข้ ถอนพิษของยาพิษ พืชพิษ เห็ดพิษ พิษจากสัตว์ต่างๆ ใช้แก้อักเสบ
๔.ใบรางและรากรางจืดใช้ตำพอกแก้ปวดลดบวม รักษาโรคข้ออักเสบ และปวดบวม
ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของรางจืด

๑.การศึกษาฤทธิ์ข้างเคียงของรางจืดขณะใช้ต้านพิษยาฆ่าแมลง พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดสามารถกดประสาทส่วนกลางทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ (ชัชวดี ทองทาบและคณะ จาก ม.เชียงใหม่)
๒.การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด พบว่าไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดด้วยน้ำร้อนลดอัตราการตายของหนูขาวได้ และพบว่าใบรางจืดแห้งใช้แก้พิษโพลิดอนได้เช่นเดียวกับใบรางจืดสด และแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภท Organophosphates ได้ดี (วีระวรรณ เรืองยุทธิการ์ ม.เชียงใหม่)
๓.การทดลองความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดไม่มีพบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทั่วไปของหนูขาวและไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อหนูเสียชีวิต (วีระวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ และคณะ ม.เชียงใหม่)
๔.การศึกษาฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต พบว่า หนูทีได้รับสารสกัดรางจืดรอดชีวิตร้อยละ ๓๐ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีตัวใดรอดชีวิต (สุชาสินี คงกระพันธ์และคณะ กระทรวงสาธารณสุข )
๕.รายงานผู้ป่วยพิษแมงดาทะเล ๔ ราย รักษาด้วยสมุนไพรรางจืด พบว่า สมุนไพรรางช่วยถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤตระดับ ๔ จำนวน ๒ รายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและรูม่านตาไม่ตอบสนองให้กลับฟื้นเป็นปกติได้หลังได้รับสารสกัดสมุนไพร เป็นเวลา ๔๐ นาที (สุพรรณี ประดิษฐ์สถาวงษ์ กระทรวงสาธารณสุข)

ย่านาง ล้างพิษ

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora ; Trian dra (Colebr.) Diels
ชื่อวงศ์ Menispermaceae
ชื่อสามัญ (ภาคกลาง) เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี (เชียงใหม่) จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง (ภาคใต้) ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ (สุราษฎร์ธานี) ยาดนาง, วันยอ (ภาคอีสาน) ย่านางอื่น ๆ เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น
เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป็นเถากลม ๆ ขนาดเล็ก เหนียว มีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเข้ม บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่ผิวค่อนข้างเรียบ
ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่
ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว ๕-๑๐ ซม.กว้าง ๒-๔ ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว ๑-๑.๕ ซม. ในภาคใต้ใบค่อนข้างเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน
ดอก ออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน จากข้อเถาแก่เป็นช่อยาว ๒-๕ ซม.ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง ๓-๕ ดอกออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณุสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้น ๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือน เมษายนผลรูปร่างกลมเล็ก ขนาดเท่าผลมะแว้ง สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดง หรือสีแดงสด และกลายเป็นสำดำในที่สุด
รสและสรรพคุณยาไทย ย่านางมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณในการดับพิษร้อน รากย่านางสามารถใช้แก้ไข้ได้ทุกชนิด สรรพคุณทางยา
ราก ใช้แก้ไข้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู
ใบ แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้พิษเมา แก้อาการผิดสำแดง แก้ไข้กลับ แก้เลือดตก แก้กำเดา แก้ลม ลดความร้อน
เถา แก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า ต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ต้าน
การใช้ประโยชน์ทางยา
๑.รากแห้งใช้แก้ไข้ โดยใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (หนัก ๑๕ กรัม) ต้มน้ำดื่ม ๓ ครั้งก่อนอาหาร
๒.สำหรับคนที่เป็นผดผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ หรือไข้ออกตุ่ม ก็ใช้น้ำคั้นใบย่านางชโลมตามผิวบริเวณที่เป็น หรือผสมกับดินสอพองใช้ทาทิ้งไว้
การทำเป็นอาหาร ชาวไทยภาคอีสานและภาคเหนือนำใบย่านางมาใช้ประกอบอาหาร โดยเอาน้ำคั้นจากใบทำน้ำแกง คือแกงหน่อไม้หรือต้มเปรอะ แกงขี้เหล็ก แกงหวาย ลาบหมาน้อย ลาบเทา ต้มหน่อไม้ การประกอบอาหารดังกล่าวนี้ใช้น้ำคั้นใบย่านางจะช่วยฆ่าพิษหรือดับพิษของอาหารที่ประกอบนั้น เช่น หน่อไม้ จัดเป็นอาหารแสลงที่ทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเข่า ถ้าเป็นหญิงมักมีตกขาว หรือคันในช่องคลอดร่วมด้วย สำหรับคนรักสุขภาพ มีการแนะนำสูตรเครื่องดื่มพร้อมวิธีปรับปรุงสูตรเพื่อเพิ่มรสชาติ เช่น ใบย่างนาง เสลดพังพอน ตำลึง ผักบุ้ง อ่อมแซบ บัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบเตย ฝรั่ง เลือกใบย่านางเป็นหลัก ส่วนผสมอื่นๆ เลือกตามสะดวกและหาได้ จะตำคั้น หรือปั่น หรือใช้เครื่องแยกกาก ก็ตามสะดวก แล้วแต่งรสชาติด้วย น้ำมะพร้าว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง หรือไม่แต่งรสก็ได้ รับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ
สารสำคัญที่พบ จากการวิจัยพบว่า สารเคมีที่พบในรากย่านาง คือ Alkaloid ซึ่งมี Tiliacorine. Ttliacorinine. NortiliacorinineA Tiliacorinine-2-N-Oxide
การศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
๑.น้ำคั้นจากใบย่านางมีคลอโรฟิลล์ สามารถเพิ่มความสดชื่น ปรับสมดุลร้อนเย็นในร่างกาย ลดไข้ ปวดแขนขา แสบร้อนเบ้าตา เป็นผดผื่นคัน แพ้อากาศ สามารถล้างสารพิษที่สะสมในระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งมาจากอาหารและสิ่งแวดล้อม
๒.ข้อมูลทางโภชนาของย่านางระบุว่ามีเบต้าแคโรทีนสูง สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย อุดมด้วยเส้นในอาหาร แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส

ข่อยล้างพิษ

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร Streblus asper Lour.
ชื่อวงศ์ Moraceae
ชื่อสามัญ Siamese rough bush, Tooth brush tree
ชื่อสามัญ ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ส้มพอ (เลย)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ บางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอดเป็นรูปวงกลม กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๒-๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๔-๗ เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน
ดอก ออกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน
ผลสดกลม เมล็ดโตขนาดเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย ประโยชน์ทางยา
๑.ใช้กิ่งสด ขนาดยาว ๕-๖ นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน
๒.ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้
๓.ใช้เปลือกต้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
๔.ใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอบบ้วนปาก เป็นการฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และโรคทางเดินอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
๕.นำใบมาคั้นให้แห้ง ชงน้ำรับประทาน บรรเทาอาการปวดของมดลูกระหว่างมีประจำเดือน
สารเคมีที่พบ
ผล จะมีน้ำมันระเหย ๑-๑.๔ % ไขมัน ๒๖ % และ ในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำตาลกลูโคส
ทั้งต้น มีสาร ลินาโลออล (linalool) โนนานาล (nonana) ดีคาลนาล (decanal) วิตามินซี ๙๒-๙๘ มก.%
เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตเจน ๑๓-๑๕ เปอร์เซ็นต์ และสารอนินทรีย์ ๗ % มีน้ำมันระเหย ๑ % ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ ๗๐%
ใบ คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อยาเมาหรืออาหารแสลง

สมุนไพร ล้างพิษ

สมุนไพร ล้างพิษ มี

1. ข่อย

2. ย่านาง
3. รางจืด
4. มะขามป้อม
5. ย่านางแดง

เด่ว เราจะมาดู ในรายละเอียดแต่ละตัวกันนะค่ะ