รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia
Lindl.
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อทั่วไป กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย, รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ, ดุเหว่า, ซั้งกะ, ปั้งกะล่ะ, พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), น้ำนอง (สระบุรี), ย่ำแย้, แอตแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้นไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานหรือรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น ๓ เส้นออกจากโคนใบ
ดอก เป็นดอกมีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน
ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก
ส่วนที่ใช้ ใบ ราก และเถาสด
ข้อบ่งใช้ ลดไข้ (antipyretic) และถอนพิษ (detoxification)
สรรพคุณยาไทย
๑.รางจืดชนิดเถาดอกม่วง ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง
๒.แก้พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป หรือรากที่มีอายุเกิน ๑ ปีขึ้นไป หรือขนาดเท่านิ้วชี้ มาตำพอแหลกคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว เอาน้ำดื่ม ใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ ๔-๗ เท่า)
คำเตือน การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ต้องใช้ยาโดยทันที ถ้าพิษซึมเข้าสู่ร่างกายมาก ผลของยารางจืดก็จะได้ผลน้อยลง
๓.ใช้น้ำคั้นจากใบสด แก้ไข้ ถอนพิษของยาพิษ พืชพิษ เห็ดพิษ พิษจากสัตว์ต่างๆ ใช้แก้อักเสบ
๔.ใบรางและรากรางจืดใช้ตำพอกแก้ปวดลดบวม รักษาโรคข้ออักเสบ และปวดบวม
ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของรางจืด
๑.การศึกษาฤทธิ์ข้างเคียงของรางจืดขณะใช้ต้านพิษยาฆ่าแมลง พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดสามารถกดประสาทส่วนกลางทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ (ชัชวดี ทองทาบและคณะ จาก ม.เชียงใหม่)
๒.การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด พบว่าไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดด้วยน้ำร้อนลดอัตราการตายของหนูขาวได้ และพบว่าใบรางจืดแห้งใช้แก้พิษโพลิดอนได้เช่นเดียวกับใบรางจืดสด และแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภท Organophosphates ได้ดี (วีระวรรณ เรืองยุทธิการ์ ม.เชียงใหม่)
๓.การทดลองความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดไม่มีพบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทั่วไปของหนูขาวและไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อหนูเสียชีวิต (วีระวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ และคณะ ม.เชียงใหม่)
๔.การศึกษาฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต พบว่า หนูทีได้รับสารสกัดรางจืดรอดชีวิตร้อยละ ๓๐ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีตัวใดรอดชีวิต (สุชาสินี คงกระพันธ์และคณะ กระทรวงสาธารณสุข )
๕.รายงานผู้ป่วยพิษแมงดาทะเล ๔ ราย รักษาด้วยสมุนไพรรางจืด พบว่า สมุนไพรรางช่วยถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤตระดับ ๔ จำนวน ๒ รายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและรูม่านตาไม่ตอบสนองให้กลับฟื้นเป็นปกติได้หลังได้รับสารสกัดสมุนไพร เป็นเวลา ๔๐ นาที (สุพรรณี ประดิษฐ์สถาวงษ์ กระทรวงสาธารณสุข)
ชื่อวงศ์ Acanthaceae
ชื่อทั่วไป กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย, รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ, ดุเหว่า, ซั้งกะ, ปั้งกะล่ะ, พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), น้ำนอง (สระบุรี), ย่ำแย้, แอตแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้นไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปขอบขนานหรือรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น ๓ เส้นออกจากโคนใบ
ดอก เป็นดอกมีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน
ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น ๒ ซีก
ส่วนที่ใช้ ใบ ราก และเถาสด
ข้อบ่งใช้ ลดไข้ (antipyretic) และถอนพิษ (detoxification)
สรรพคุณยาไทย
๑.รางจืดชนิดเถาดอกม่วง ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง
๒.แก้พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป หรือรากที่มีอายุเกิน ๑ ปีขึ้นไป หรือขนาดเท่านิ้วชี้ มาตำพอแหลกคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว เอาน้ำดื่ม ใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ ๔-๗ เท่า)
คำเตือน การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ต้องใช้ยาโดยทันที ถ้าพิษซึมเข้าสู่ร่างกายมาก ผลของยารางจืดก็จะได้ผลน้อยลง
๓.ใช้น้ำคั้นจากใบสด แก้ไข้ ถอนพิษของยาพิษ พืชพิษ เห็ดพิษ พิษจากสัตว์ต่างๆ ใช้แก้อักเสบ
๔.ใบรางและรากรางจืดใช้ตำพอกแก้ปวดลดบวม รักษาโรคข้ออักเสบ และปวดบวม
ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของรางจืด
๑.การศึกษาฤทธิ์ข้างเคียงของรางจืดขณะใช้ต้านพิษยาฆ่าแมลง พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดสามารถกดประสาทส่วนกลางทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ (ชัชวดี ทองทาบและคณะ จาก ม.เชียงใหม่)
๒.การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด พบว่าไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดด้วยน้ำร้อนลดอัตราการตายของหนูขาวได้ และพบว่าใบรางจืดแห้งใช้แก้พิษโพลิดอนได้เช่นเดียวกับใบรางจืดสด และแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภท Organophosphates ได้ดี (วีระวรรณ เรืองยุทธิการ์ ม.เชียงใหม่)
๓.การทดลองความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด พบว่า น้ำสกัดใบรางจืดไม่มีพบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทั่วไปของหนูขาวและไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อหนูเสียชีวิต (วีระวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ และคณะ ม.เชียงใหม่)
๔.การศึกษาฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต พบว่า หนูทีได้รับสารสกัดรางจืดรอดชีวิตร้อยละ ๓๐ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีตัวใดรอดชีวิต (สุชาสินี คงกระพันธ์และคณะ กระทรวงสาธารณสุข )
๕.รายงานผู้ป่วยพิษแมงดาทะเล ๔ ราย รักษาด้วยสมุนไพรรางจืด พบว่า สมุนไพรรางช่วยถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤตระดับ ๔ จำนวน ๒ รายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและรูม่านตาไม่ตอบสนองให้กลับฟื้นเป็นปกติได้หลังได้รับสารสกัดสมุนไพร เป็นเวลา ๔๐ นาที (สุพรรณี ประดิษฐ์สถาวงษ์ กระทรวงสาธารณสุข)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น