จำนวนผู้ชม

ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยบางใหญ่
89/141 ต.บางแม่นาง
อ.บางใหญ่ จ.นนทุบรี 11140
โทร.0819355698
E-Mail : nutthasasich@gmail.com

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

ริดสีดวงทวาร


  1. เพชรสังฆาตใช้เถา ขนาด 2-3 องคุลี สอดใส่ลงกล้วยสุก กิน 10-15 วัน
คำว่า องคุลี บางตำรา ก็บอกว่า นิ้ว ชี้ , บางตำรา ก็บอกว่า นิ้วกลาง แต่ ทั้งสองนิ้ว ก็เท่ากันค่ะ

วันนี้ มีเพื่อนสมาชิก โทรมาสอบถามเรื่อง อาการคัน เกิดจากอะไร  และ แก้อย่างไร

แก้ผื่นคัน


  1. ขมิ้นชันใช้เหง้ามาทำให้แห้ง บดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กจะนิยมใช้มาก
  2. ตำลึงใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำอีก จนกว่าจะหาย
  3. สำมะงาใช้กิ่ง 3-4 กำมือ สับเป็นท่อนๆ ต้มน้ำอาบ
  4. เสลดพังพอนใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ หรือตำผสมเหล้าเล็กน้อยก็ดี
  5. เหงือกปลาหมอเอาต้น รากสด หรือแห้ง สับเป็นท่อนเล็กๆ 1 ขีด ผสมกับน้ำ 3-4 ขัน ต้มให้เดือด 10 นาที ก่อนอาบยา ให้อาบน้ำฟอกสบู่เสียก่อน และอาบเมื่อยังอุ่นอยู่ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3-4 ขัน อาบแล้วไม่ต้องอาบน้ำธรรมดาซ้ำอีก
ความจริงมีหลายตัวมากๆ ค่ะ  แต่ เท่านี้ ก็สามารถทำให้เพื่อน ๆ หายคันแล้วค่ะ

ลองดูนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

หากใครต้องการ เปิดร้านขาย สมุนไพร  ก็มาดูกันค่ะ ว่า ต้องทำอย่างไร

สมุนไพร หมายถึง พืช หรือ ส่วนของพืชสมุนไพร อาจอู่ในสภาพสดหรือแห้งก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ สมุนไพรนั้นังมิได้ผ่านการแปรรูปใดๆ ส่วนการบดหาบโดที่เราังสามารถแยกแยะได้ ว่าเป็นพืชใด ได้มาจากส่วนใดของพืชนั้น ไม่ถือว่าเป็นการแปรรูป ประชาชนโดยทั่วไปสามารถผลิต และขายสมุนไพรได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ห้ามโฆษณาสรรพคุณทางยา

ส่วนคำว่า ยาจากสมุนไพร นั้นมี 2 ลักษณะ คือ ยาสมุนไพร และยาตำรับ หรือยาสำเร็จรูป

ยาสมุนไพรนั้น อาจเป็นสมุนไพรไม่แปรสภาพหรืออาจผ่านการบด หยาบบรรจุซองก็ได้ ผู้ผลิตยาสมุนไพรจะต้องขออนุญาตผลิต แต่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา และสามารถแสดงสรรพคุณยาบนฉลากได้ตามที่กำหนด โดยจะต้องได้รับอนุญาตให้แสดงสรรพคุณบนฉลาก และโฆษณาเสียก่อน ส่วนการขายยาสมุนไพรนั้นไม่ว่าใครจะขายก็ได้ไม ่ต้องขออนุญาต

ส่วนยาตำรับหรือยาสำเร็จรูปนั้น สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ลักษณะคือ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณและยาที่ไม่ใช่ยา สามัญประจำบ้านซึ่งในการผลิตยาตำรับนี้ ผู้ผลิตต้องขออนุญาตผลิต และขึ้นทะเบียนตำรับยาเสียก่อน และการแสดงฉลากนั้นต้องมีข้อความตามที่กฎห มายกำหนด และตรงกับที่ขึ้นทะเบียนไว้ ส่วนการโฆษณาผ่านสื่อนั้นต้องขออนุญาตก่อน ประชาชนทั่วไปสามารถขายยาตำรับนี้ได้เลยหากเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่หากไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านจะต้องได้รับ อนุญาตก่อนจึงจะขายได้

นอกจากใช้เป็นยาแล้ว สมุนไพรยังถูกแปรรูปไปเป็นอาหาร ซึ่งเราเรียกว่า อาหารสมุนไพรตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ เครื่องดื่มสมุนไพรบรรจุขวด เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป แยม อาหารสมุนไพรเหล่านี้ไม่สามารถระบุสรรพคุณ ทางยาบนฉลากได้

นอกจากนี้ อาหารเสริมสุขภาพก็เป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอีกจำพวกหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมสูง เช่น กระเทียมแคปซูล ส้มแขกแคปซูล เป็นต้น อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จะต้องขออนุญาตและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อนจึงจะผลิตได้

นอกจากนี้แล้วสมุนไพรยังสามารถนำมาผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพอื่นๆได้ เช่น ยาสระผมสมุนไพร และอื่นๆอีกมากมาย

ทำทุกอย่างกันให้ทุกต้องนะค่ะ
ใครอยากเปิดร้านขายยา สมุนไพร มาอ่านกันหน่อยจ้า  ย้ำ ร้านขายยา

าแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งหมาสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลป ะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอู่ในตำราาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาหรือาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นาแผนโบราณ หรือาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบีนตำรับาเป็นาแผนโบราณ

การควบคุมาแผนโบราณ
การผลิต ขาหรือนำเข้าฯาแผนโบราณจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหม าย ดังนี้

1. ผู้ที่ต้องการผลิต ขาหรือ นำเข้าฯาแผนโบราณ จะต้องได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และต้องจัดให้ผู้ประกอบการโรคศิลปะแผนโบราเป็นผู้มีหน้าที่ ปฏิบัติการประจำ อยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ

2. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา ขาหรือ นำเข้าฯ ยาแผนโบราณนอกสถานที่ ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่ง

3. ตำรับยาแผนโบราณที่ผลิต หรือนำเข้าฯ ได้อย่างถูกกฎหมาย จะต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา และได้รับเลขทะเบียนก่อนจึงจะผลิต หรือนำเข้าฯได้

4. ผู้ผลิต ขาหรือ นำเข้าฯ ยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท

5. ผู้ผลิต ขาหรือ นำเข้าฯ ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2590-7200 งานใบอนุญาต
http://www.facebook.com/#!/groups/310006565721827/
เพื่อนๆ มา ดูเรื่อง รสยา ของสมุนไพรไทย กันค่ะ

รสยา ทั้งหมด มี 9 รส และมี สรรพคุณ แก้โรคดังนี้


๑. รสฝาด สำหรับสมานแผล แก้บิด ปิดธาตุ คุมธาตุ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย

๒. รสหวาน สำหรับซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้เนื้อชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย

๓. รสเมาเบื่อ สำหรับแก้พิษ พิษดี พิษโลหิต พิษไข้ พิษเสมหะ พิษสัตว์กัดต่อย ถ่ายพยาธิ

๔. รสขม แก้ทางโลหิตและดี แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร แก้ไข้

๕. รสเผ็ดร้อน แก้ลม แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับผายลม บำรุงธาตุ กระจายลม

๖. รสมัน ชอบแก้เส้นเอ็น แก้เส้นพิการ บำรุงเส้นเอ็น เพิ่มไขมัน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

๗. รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา

๘. รสเค็ม ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนังบางชนิด เนื้อหนังไม่ให้เน่า

๙. รสเปรี้ยว กัดเสมหะ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต ระบายอุจจาระธาตุ

รสจืด แก้เสมหะและปัสสาวะ สำหรับแก้ในทางเตโชธาตุ เสมหะและปัสสาวะ



ถ้าเพื่อนๆๆ ชิมแล้ว สมุนไพรตัวนั้น มีรสอย่างไร ก็ให้สันนิษฐานได้เลยค่ะ ว่า แก้โรคอะไร ได้

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

สัณฑฆาต ๔ เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิต ๔ จำพวก

สัณฑฆาตเพื่อโลหิตแห้ง(เอกสัณฑฆาต) เกิดได้กับบุรุษและสตรี เพราะโลหิตจับเป็นก้อนภายใน เมื่อกินยาร้อนเข้าโลหิตจึงละลายออกเป็นลิ่ม ออกมาตามช่องทวารหนัก เรียกว่าอัสนโลหิต,สันนิจโลหิต รักษายากนัก คือเป็นอสาทิยโรค
กับสตรีเป็นเรื่องโลหิตและระดูแห้งเดินไม่สะดวก คุมกันเป็นก้อนเท่าฟองไข่ติดกระดูกสันหลังข้างใน มักจะเจ็บหลัง บิดตัวจะจุกแน่นหน้าอกมาก เมื่อแก่เข้ามักเป็นลมจุกแน่นอก
ถ้าบุรุษมักเกิดด้วยไข้ถึงพิฆาต คือกระทบกระแทก ตกต้นไม้ ถูกทุบถองโบยตีสาหัส พิการช้ำในอก โลหิตคุมกันเป็นก้อนเป็นดาน ทำให้ร้อน เสียดแน่นยอกสันหลัง


สัณฑฆาตเกิดเพื่อปัตตะฆาต(โทสัณฑฆาต) เป็นได้ทั้งบุรุษ-สตรี
เพราะเกิดท้องผูกเป็นพรรดึกและโลหิตแห้ง แล้ววาโยกล้าพัดโลหิตให้เป็นก้อนเข้าในอุทร จึงเจ็บทั่วสรรพางค์กาย เมื่อยบั้นเอว มือเท้าตาย ให้ขบขัดเข่าและตะโพกท้องขึ้นและตึงที่ทวารเบา กินอาหารไม่มีรส ปากเปื่อยเสียงแห้ง เวียนศีรษะ ตามืดน้ำตาไหลหูตึง ร้อนบ้างหนาวบ้าง อยากเปรี้ยวอยากหวาน เป็นคราว


สัณฑฆาตเกิดเพื่อกาฬ เกิดภายในตับ ปอด หัวใจและดี ไส้อ่อน,ไส้แก่ (ตรีสัณฑฆาต)
เป็นเม็ดขนาดเม็ดข้าวสารหัก ขึ้นที่ดีให้คลั่งเพ้อ ขึ้นตับให้ตับหย่อน ตกโลหิตมีอาการดุจปีศาจเข้าสิง ถ้าขึ้นปอดให้กระหายน้ำ ขึ้นหัวใจให้แน่นิ่งเจรจาไม่ได้ ขึ้นในไส้อ่อนไส้แกให้จุกเสียด จุกโลหิตท้องขึ้นท้องพองดังมานกระษัย เมื่อเป็นได้ ๗-๘-๙ วันโลหิตจะแตกออกในทวารทั้ง ๙ เรียก”รัตตะปิตตะโรค”รักษาไม่ได้ คือเป็นอติสัยโรค


สัณฑฆาตเกิดเพื่อกล่อนแห้ง (อาสัณฑฆาต)
เกิดเพื่อสมุฎฐานธาตุและอชิณโรค คือกินของแสลงโรคแสลงธาตุเช่นของอันมีรสคาวเป็นต้น ทำให้อาเจียนเป็นน้ำลาย น้ำลายฝาด มีอาการเจ็บกระบอกตา เมื่อยไปทั้งตัว เจ็บที่ขั้วสะดือ ลงไปถึงอัณฑะ คันองคชาติ องคชาติบวมเจ็บแสบร้อน แตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลซึม เกิดเป็นเม็ดงอกขึ้นในรูองคชาติขนาดเท่าผลพริกเทศ แก่เข้าดังยอดหูด ให้ปัสสาวะเป็นสีต่างๆดังทุราวสา ๔ จำพวก