จำนวนผู้ชม

ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยบางใหญ่
89/141 ต.บางแม่นาง
อ.บางใหญ่ จ.นนทุบรี 11140
โทร.0819355698
E-Mail : nutthasasich@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พืชที่เป็นพิษ

วันนี้ เรา จะขอกล่าวถึง พืชที่มีพิษ และ เป็นอันตราย

1.  กลอย        หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้

2.  ดอกดึงหัวขวาน    หัวดองดึงจะคล้ายกลอย บางคนทานเพราะเข้าใจว่าเป็นกลอย แต่ ส่วนของเหง้าและเมล็ดจะมีสาร alkaloid ที่เรียกว่า colchicine สูง ซึ่ง colchicine ทำให้เกิดพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

3. เทียนหยด  พบสาร ไซยาไนด์ในใบ บางคนไม่ทราบ ไปเด็ดมากิน ทำให้ ถึงแก่ชีวิตได้

4. ปรง   ส่วนที่เป็นพิษของปรงได้แก่ ยอดและเมล็ด

5. ผกากรอง

6. พันซาด    ทุกส่วนของพิษชนิดนี้ได้แก่ ใบ เนื้อไม้ เปลือกไม้ ราก และเมล็ดมีพิษ เมื่อรับประทานเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และทำให้เสียชีวิตได้

7. โพศรี    อาการพิษจากการบริโภคหรือสัมผัสเมล็ดหรือยางจากส่วนต่างๆ ของต้นโพธิ์ศรี พบว่าส่วนใหญ่จะมีอาการแสบร้อนในลำคอ ปวดท้อง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (2-6, 8-9)
8.  มะกล่ำตาหนู  ตัวนี้ อันตรายมาก เพราะ ส่งผลต่อ ระบบเกือบจะทุกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

9. มันแกว       รับประทานเมล็ดมันแกวเข้าไป 200 กรัม เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า เป็นเมล็ดถั่วที่รับประทานได้ หลังรับรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (dizzy) อ่อนเพลีย และไม่สามารถก้าวเดินได้ จากนั้นไม่รู้สึกตัว หน้าซีด เริ่มมีอาการชัก กระตุกที่มือและเท้า ไม่สามารถควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะได้ ท้องเสีย และได้เสียชีวิตหลังจากที่รับประทานไปได้ 11 ชั่วโมง

10.ลำโพงขาว  
11.ลูกเนียง มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. ภายหลังรับประทาน เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ (anuria) ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบ colic ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง
ตัวอย่างที่ 1 ชายท่านหนึ่ง จม.ถามมาที่สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มีประวัติว่ารับประทานลูกเนียงเข้าไปประมาณ 10 ลูก มีอาการปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดท้องน้อยและหลัง แต่หลังจากนอนพัก 4-5 วัน อาการก็หายไป
12.ว่านนางกวัก  มีรายงานพบผู้ป่วยจากการรับประทานว่านนางกวักโดยเข้าใจผิดว่าเป็นต้นบอน
      มีอาการปวดแสบ ปวดร้อนที่คอ ลิ้น และบริเวณภายในกระพุ้งแก้ม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แพทย์ได้ทำการล้างท้อง งดน้ำและอาหาร ให้ยาเคลือบกระเพาะ และรักษาตามอาการจนกระทั่งผู้ป่วยอาการดีขึ้น

13. สบู่ขาว   หรือ สลอด

14.หงอนไก่  เมล็ด เป็นพิษ

15. เห็ดขี้ควาย      ภายใน 10-30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป จะมีอาการกระวนกระวาย เครียด มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และมักจะหาว กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หนาวๆ ร้อนๆ แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ริมฝีปากชา คลื่นไส้ โดยทั่วไปไม่อาเจียน ภายใน 30-60 นาที จะมีอาการผิดปกติของตา เช่น เห็นเป็นสีต่างๆ ขณะที่ปิดตา ระบบการรับรู้เรื่องเวลาผิดไป มีอาการเคลิ้มฝัน และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น รู้สึกเศร้า มีความรู้สึกเหมือนฝัน และเปลี่ยนบุคลิก ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง เหงื่อแตก หาว น้ำตาไหล หน้าแดง ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ใน 1-2 ชั่วโมง ความผิดปกติของตาจะเพิ่มมากขึ้น มีอาการฝันต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 2-4 ชั่วโมง แต่บางรายอาการอาจจะนานถึง 6-8 ชั่วโมง อาการจะหายไปเองโดยไม่มีอาการค้าง นอกจากอาจมีอาการปวดหัวหรืออ่อนเพลีย มีน้อยมากที่พบอาการซิโซฟรีเนีย ในเด็กอาการที่พบมีม่านตาขยาย ไข้สูง โคม่า และมีอาการชัก

16.สาวน้อยประแป้ง     แม้ว่าอาการพิษที่เกิดจากต้นสาวน้อยประแป้งจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ต้นสาวน้อยประแป้ง จัดเป็นพืชที่หาง่ายและขึ้นอยู่ทั่วไป โอกาสที่จะเกิดการสัมผัสยางหรือรับประทาน พืชต้นนี้เข้าไป โดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะระมัดระวัง


 พืชสมุนไพรทุกชนิดถ้ามีการใช้ที่ถูกต้องและใช้ในขนาดที่เหมาะสม ก็จะสามารถรักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย


ฉะนั้น เพื่อน นักเรียน หมอยา ทุกท่าน ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ ให้มากนะค่ะ

ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง
  • ใบเพสลาด หมายถึงใบไม้ที่จวนแก่
  • ทั้งห้า หมายถึงส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก
  • เหล้า หมายถึงเหล้าโรง (28 ดีกรี)
  • แอลกอฮอล์ หมายถึงแอลกอฮอล์ชนิดสีขาวสำหรับผสมยา ห้ามใช้แอกอฮอล์ชนิดจุกไฟ
  • น้ำปูนใส หมายถึงน้ำยาที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่รับประทานกับหมากมาละลายน้ำสะอาดตั้งทิ้งไว้ แล้วรินน้ำใสมาใช้
  • ต้มเอาน้ำดื่ม หมายถึงต้มสมุนไพรด้วยการใส่น้ำพอประมาณ หรือสามเท่าของปริมาณที่ต้องการใช้ ต้มพอเดือดอ่อนๆ ให้เหลือ 1 ส่วนจาก 3 ส่วนข้างต้น รินเอาน้ำดื่มตามขนาด
  • ชงเอาน้ำดื่ม หมายถึงใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัดลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม
  • 1 กำมือ มีปริมาณเท่ากับสี่หยิบมือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่งๆ
  • 1 กอบมือ มีปริมาณเท่าสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือทั้งสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนของปลายนิ้วแตะกัน
  • 1 ถ้วยแก้ว มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร
  • 1 ถ้วยชา มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนคาว มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร

อาการแพ้ยา สมุนไพร

อาการที่เกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้
  1. ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโต ๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด) หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง
  2. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้ามีอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค
  3. หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง
  4. ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่นเพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ ฯลฯ
  5. ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
  6. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองและเมื่อเขย่าจะเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรงต้องรีบไปหาแพทย์ อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรหรือซื้อยารับประทานด้วยตนเอง

ถ้าบุคคลใกล้ชิด ของท่าน มีอาการดังกล่าว ให้หยุดยา ทันที และ นำส่ง โรงพยาบาล

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
  2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
  3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
  4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
  5. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น

ฉะนั้น นักเรียนหมอยาทุกท่าน   ต้องรู้จริง รู้แจ้ง ท่านถึงจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ให้กับ คนไข้ได้

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบูชาปู่ชีวก

ถึง เพื่อนๆ แพทย์ แผนไทยทุกท่าน

วันพฤหัสที่ 9/8 /2555 นี้ ทางชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย จะมีพิธีไหว้ครู ประจำปี ขึ้น

งานเริ่ม เวลา 8.00 น. อยากให้ เพื่อนๆ มาร่วมงาน กันเยอะๆ ค่ะ


วันนี้ มีเพื่อน สมาชิกที่ไปอบรม วิชาชีพกับอาจารย์ โทรมาสอบถามว่า " เราไม่ได้ เรียน แพทย์แผนไทย" แค่ อบรมวิชาชีพ สามารถไปร่วมงานได้ ไหม

เราในฐานะ ผู้ประกอบอาชีพในด้านนี้ คนหนึ่ง " ตอบได้ทันทีเลยว่า " มาได้ค่ะ  

ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ ได้ มีศิษฐ์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ ปู่ชีวก และ อาจารย์ ไพบูลย์

แม้ว่า จะยังไม่เคยเรียน แต่  การประกอบอาชีพในด้านสมุนไพรนี้ อยากให้ เพื่อนๆ ระลึกอยู่เสมอว่า
จรรยาบรรณ เกี่ยวกับ ความสะอาด และ การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และ อื่นๆ ในอยู่ใน หัวข้อ จรรยาเภสัชนั้น  สำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำคัญยิ่งกว่า สิ่งอื่นใดทั้งหมด

เพื่อน ๆ ที่ เปิด อ่าน Block นี้ ถ้ามาร่วมงานทัน มา ทำบุญมหากุศล กันนะค่ะ เพื่อเป็นสิริมงคล ค่ะ


สถานที่ ประกอบพิธี ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย
    ซอยโรงเรียน เทพศิรินทร์ นนท์
    มาไม่ถูก สอบถามสถานที่ ได้ ที่เบอร์ 081-1987689 ค่า

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ย่านางแดง ล้างพิษ

ย่านางแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia, Craib tiliacora triandra Diels
ชื่อวงศ์ Craib Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinoideae)
ชื่อสามัญ เครือขยัน, ขยัน, สยาน, ขยาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข้ง ขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ ๔-๑๐ เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกับสำหรับเกาะยึด
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็ก ๆ ๑ คู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนากกว้าง ๓-๖ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๒ เซนติเมตร โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง
ดอก ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก ๒ ข้างของก้านช่อกลีบรองดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ ๕ แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี ๕ กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านดอกยาวประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร
ผล เป็นฝักแบน ๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน
สรรพคุณยาไทย
๑. ใช้เหง้าฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาสำแดง ถอนพิษ และแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
๒.เถาย่างนางแดง ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษทั้งปวง พิษเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เซื่องซึม ไข้สุกใส ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไข้กลับไข้ซ้ำ บำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม บำรุงธาตุ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
๓.ย่านางแดงชงเป็นชาล้างสารพิษได้ แก้สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง และเกิดอาการแพ้ต่างๆ โดยใช้ใบ หรือ ใช้เถาต้มดื่มเป็นประจำ จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ หรือกินแทนน้ำ หมายเหตุ ประเทศญี่ปุ่นกำลังศึกษาวิจัยในการแก้พิษต่างๆ ซึ่งผลคงออกมาไม่นานจากนี้

มะขามป้อม ล้างพิษ

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthusemblica Linn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ Emuc myrabolan, Malacca tree
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ต้น เป็นไม้ต้นสูง ๑๐-๑๒ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาด กว้าง ๑-๕ มิลลิเมตร ยาว ๔-๑๕ มิลลิเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี ๕-๖ กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้น ๆ ๓-๕ อัน ก้านดอกสั้น
ผล เป็นรูปทรงกลม ขนาด ๑-๓.๒ เซนติเมตร เป็นพูตื่น ๆ ๖ พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สรรพคุณทางยา
ผลสด โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาดจะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
น้ำจากผล แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
การใช้ประโยชน์ทางยา
๑.รากแห้งของมะขามป้อม ต้มดื่ม แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิต
๒.รากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้
๓.เปลือกต้น ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่ม แก้โรคบิดและฟกช้ำ
๔.ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน ๑๐-๓๐ อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
๕.ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือดออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
หมายเหตุ ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด ๑๐-๓๐ ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
๖.ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่ม แก้ท้องเสีย โรคหนองใน บำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อยุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจาง ๗.เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นถ่าน ผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้ตุ่มคัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียน
สาระสำคัญที่พบ
ผลสด มีวิตามินซี ร้อยละ ๑-๑.๘ % นับว่ามีปริมาณมากและปริมาณค่อนข้างแน่นอน (วิตามินซีในน้ำคั้นจากผลมะขามป้อม มีมากประมาณ ๒๐ เท่าของน้ำส้มคั้น มะขามป้อม ๑ ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่าที่มีในผลส้ม ๑-๒ ผล) นอกจากนั้นยังมีสารเทนนิน (tannin) ๒๘ %
ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์๑.มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่าสารจากมะขามป้อมต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก แม้ว่ามะขามป้อมจะมีวิตามินซีสูงมาก แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมิได้เกิดจากวิตามินซีเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันพบว่าในมะขามป้อมมีสารพวกแทนนินซึ่งประกอบด้วย Emblicanin A ๓๗ % Emblicanin B ๓๓ % Punigluconin ๑๒ % และ Peduculagin ๑๔ %
๒.มีฤทธ์การต้านแบคทีเรีย โดยผลมะขามป้อม ทำให้เป็นกรดด้วยกรดเกลือ แล้วสกัดด้วยอีเทอร์และแอลกอฮอล์ สารสกัดทั้งสองนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย แต่ไม่มีผลต่อเชื้อรา สารสกัดด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แรงกว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Staphylococcus strain B, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli